การเพาะพันธุ์


การเตรียมปลาเพื่อการเพาะพันธุ์
         1. ไม่ควรเลือกพ่อแม่พันธุ์ครอกเดียวกันมาทำการผสมพันธุ์ เพราะอาจได้ลุกปลาที่มีลักษณะด้อย โตช้า อ่อนแอหรือมีความผิดปกติ เนื่องจากการผสมปลาในครอกเดียวกัน เป็นการผสมเลือดชิด(Inbreeding)
          2. ควรเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่ยังมีอายุไม่มากนัก (อายุไม่เกิน 2 ปี) เพราะปลารุ่นมีความปราดเปรียว วางไข่ได้ครั้งละมาก ๆ น้ำเชื้อมีความแข็งแรงสมบูรณ์ พ่อแม่พันธุ์ต้องอยู่ในสภาพพร้อมผสมพันธุ์ได้จริง
         3. เลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะดี ไม่พิการ มีสีสันเข้ม เด่นชัด มีความแข็งแรงปราดเปรียว และมีขนาดใหญ่ปานกลางเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายเติบโตเร็วการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาหลังจากที่มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
          4. ปลาจะผสมพันธุ์และวางไข่ได้เอง ตามธรรมชาติ ปลาทองที่จะนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ควร
มีอายุประมาณ 5-6 เดือนขึ้นไป ถ้าอายุน้อยจะทำให้ลูกปลาที่ได้พิการเป็นส่วนมาก การเลี้ยงปลาทองเพื่อให้เป็นพ่อแม่พันธุ์สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อซีเมนต์ บ่อดิน ตู้กระจก อ่างปลา ฯลฯ ที่มีระดับความลึกพอประมาณ (20-40 เซนติเมตร) ถ้าพ่อแม่พันธุ์ปลามีขนาด 3-4นิ้ว ปล่อยตารางเมตรละ 4-6 ตัวยกเว้นพ่อแม่ปลาทองบางพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ จำเป็นต้องเลี้ยงในบ่อที่ใหญ่ขึ้นด้วย กรณีที่มีการเลี้ยงในบ่อที่มีการแยกของเสียและตะกอนออกไปตลอดเวลา ความหนาแน่นอาจเพิ่มเป็น 10 – 20 ตัว (ขนาด 3-4 นิ้ว) / 1 ตารางเมตร
                  5. ทำเลที่เหมาะสมในการสร้างบ่อพ่อแม่พันธุ์ปลาทอง คือ บริเวณที่ส่องแสงลงได้เพียง 40-60%  บ่อที่ได้รับแสงแดดที่พอเหมาะสมจะสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืช ให้อยู่ในปริมาณที่พอดีทำให้น้ำในบ่อใสสะอาดอยู่เสมอ เหมาะกับความเป็นอยู่ของปลาและจะช่วยให้ปลามีสีสันสวยขึ้นด้วย น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาทอง ควรเป็นน้ำที่สะอาด มีความเป็นกรด-ด่าง  6.8-7.5 มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิกรัม/ลิตร ความกระด้าง 75-100 มิลลิกรัม/ลิตร และความเป็นด่าง 150-200 มิลลิกรัม/ลิตร ระดับความลึกของน้ำที่เหมาะสมคือ 30-40 เซนติเมตร การเลี้ยงปลาทองในบ่อที่มีระดับน้ำสูงเกินไปมักจะทำให้ปลาทองเสียการทรงตัวได้ง่าย โดยเฉพาะสายพันธุ์หัวสิงห์ ต้องมีการถ่ายเทน้ำบ่อยหรือทุก ๆ วัน โดยดูดน้ำเก่าทิ้งไป 25% ของน้ำทั้งหมดแล้ว เติมน้ำใหม่ลงไปให้มีปริมาณเท่าเดิม

ที่มา: Link:การเลี้ยงปลาทอง(February, 2010)





 - การเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ   ใช้บ่อที่มีขนาดประมาณ  1  ตารางเมตร    ปล่อยพ่อแม่ปลา 4-6 ตัว/บ่อ   โดยนำพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์พร้อมผสมพันธุ์ที่คัดไว้เรียบร้อย   แล้วมาใส่ในบ่อเพาะ  ในอัตราส่วนตัวผู้   :  ตัวเมีย  เท่ากับ  1 : 1 หรือ  2 : 1  ขึ้นกับปริมาณน้ำเชื้อของตัวผู้และความสมบูรณ์เพศของแม่พันธุ์ปลา  ตัวผู้จะเริ่มไล่ปลาตัวเมียโดยใช้ปากดุนที่ท้องปลาตัวเมีย    เพื่อกระตุ้นให้วางไข่ ตัวเมียจะปล่อยไข่เป็นระยะๆ  ขณะเดียวกันตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่    ไข่จะกระจายติดกับสาหร่าย  ผักตบชวา หรือเชือกฟางที่เตรียมไว้ในบ่อ  แม่ปลาวางไข่ครั้งละ 500 - 5000  ฟอง  โดยปริมาณไข่จะขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลาหลังจากแม่ปลาวางไข่แล้ว     ควรแยกพ่อแม่ปลาออกไปเลี้ยงในบ่ออื่น    โดยปกติแม่ปลาทองจะวางไข่มากในช่วง เดือน เม.ย.- ต.ค.
                -  การเพาะพันธุ์โดยวิธีผสมเทียม       การเพาะพันธุ์โดยวิธีนี้ทำให้อัตราการผสมไข่และน้ำเชื้อสูงมาก      มีอัตราการฟักไข่สูงกว่าการเพาะพันธุ์โดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติแต่ขั้นตอนจะ ยุ่งยากมากกว่า  แม่พันธุ์ปลาทองที่พร้อมส่วนท้องจะนิ่มพร้อมที่จะวางไข่   ควรทำในตอนเช้ามืดใกล้สว่าง   ซึ่งเป็นเวลาที่ปลาชอบผสมพันธุ์กันเอง   โดยใช้ปลาตัวผู้ : ปลา     ตัวเมีย ในอัตราส่วน 1 : 1 หรือ 2 : 1ตัว  เพื่อให้น้ำเชื้อของตัวผู้มีปริมาณเพียงพอกับ  จำนวนไข่ของปลาตัวเมีย    รีดไข่จากแม่ปลาลงกะละมังที่มีน้ำสะอาด แล้วรีดน้ำเชื้อจาก  ปลาตัวผู้  1 - 2 ตัว  ลงผสมพร้อมๆ กัน      ขั้น ตอนการรีดต้องรวดเร็วและนุ่มนวลเพราะปลาอาจเกิดการบอบช้ำและตายได้ถ้าปลา อยู่ในมือนาน  จากนั้นผสมไข่กับน้ำเชื้อให้เข้ากันเพื่อให้น้ำเชื้อของปลาตัวผู้ผสมกับไข่ ของปลาตัวเมียได้อย่างทั่วถึง   จากนั้นล้างไข่ด้วยน้ำสะอาด    1-2   ครั้ง เมื่อไข่ถูกน้ำจะดูดซึมน้ำเข้าภายในเซลล์ และมีสารเหนียว ๆ ทำให้ไข่ติดกับกะละมัง  นำกะละมังที่มีไข่ติดอยู่ ไปใส่ในบ่อฟักที่มีระดับน้ำลึกประมาณ  30 เซนติเมตร    โดยวางกะละมังให้จมน้ำ ให้ออกซิเจนเบา ๆ  เป็นจุด ๆ  ตลอดเวลาไข่ที่ได้รับการผสมจะฟักเป็นตัวภายใน   2 – 3 วัน   อุณหภูมิของน้ำภายในอ่างฟักไข่อยู่ในช่วง   27 - 28 องศาเซลเซียส
การอนุบาล
ในช่วงที่ลูกปลาฟักตัวออกมาระยะ 2-3 วันแรก  ยังไม่จำเป็นต้องให้อาหาร  เนื่องจากลูกปลามีถุงอาหาร (Yolk sac) ติดอยู่ หลังจาก 3 วันแล้วจึงเริ่มให้อาหาร โดยให้ลูกไรแดงขนาดเล็กที่ผ่านการกรองด้วยตาข่ายหรือจะให้ไข่แดงต้มสุกละลาย น้ำหยดให้ปลากินวันละ  3-4 ครั้ง  ถ้าปลากินเหลือควรดูดเศษอาหารออก  อัตราการเปลี่ยนน้ำแต่ละครั้งไม่ควรเกิน  20-25 %    ของปริมาณน้ำในบ่อ   2-3วันหลังจากนั้นควรเปลี่ยนเป็นไรแดงขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อลูกปลามีอายุ 15 วันจึงเริ่มให้อาหารสำเร็จรูปและอาหารสดที่มีขนาดใหญ่เสริม ควรคัดปลาที่พิการออกเป็นปลาเหยื่อและเลือกลูกปลาที่มีลักษณะที่ดีไว้ และคัดขนาดลูกปลาให้มีขนาดสม่ำเสมอกัน เพราะลูกปลาที่มีขนาดเล็กจะแย่งอาหารไม่ทันลูกปลาที่มีขนาดใหญ่กว่าจึงควร คัดออกเพื่อนำมาแยกเลี้ยงการอนุบาลลูกปลาที่มีขนาดเล็ก ไม่ควรเลี้ยงในน้ำที่มีระดับความลึกมาก    เพราะจะทำให้ปลามีรูปร่างไม่สวยงาม     ควรเลี้ยงในอัตราส่วน   100-250   ตัว / ตารางเมตร

ความแตกต่างลักษณะเพศของปลาทอง
เพศผู้
เพศเมีย
ตุ่มสิว (Pearl  Organ) เกิดขึ้นบนก้านครีบอันแรกของครีบอก
บริเวณท้องของเพศเมียจะรู้สึกว่าค่อนข้างนิ่ม